ทำความรู้จักกับ Mandala (แมนดาลา) ศิลปะแห่งความสมดุลของจักรวาล!

ในหลายทฤษฎีความรู้ ในหลากหลายศาสตร์เราเชื่อกันว่า “ทุกสรรพสิ่งในจักรวาลล้วนแล้วแต่เปรียบเสมือนดั่งเป็นวงกลม” เพราะวงกลมเป็นรูปทรงเลขาคณิตที่มีพื้นฐานสามารถหาดูได้จากธรรมชาติ ไม่เว้นแม้แต่ในด้านความเชื่อ ศาสนา ปรัชญา เราไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าวงกลมนั้นมีจุดเริ่มต้นที่ตรงไหน

และมีจุดสิ้นสุดที่ตรงไหน ซึ่งคำตอบก็คือ “ไม่มี” เรารู้เพียงแค่ว่า ทุกวงกลม ทุกล้วนแต่มีจุดศูนย์กลาง เหมือนกันทั้งหมดทั้งสิ้น เฉกเช่นดั่งจักรวาลอันกว้างใหญ่และไร้ซึ่งขอบเขต แม้แต่จินตนาการหรือความคิดก็ไม่สามารถจะบอกได้ว่าจุดสิ้นสุดของจักรวาลนั้นเป็นเช่นไร แต่ทุกอย่างล้วนเวียนว่ายและวนเวียนไปไม่รู้จบ ดั่งคำสอนของพระศาสดาได้กล่าวเอาไว้ ตราบใดที่ยังไม่หลุดพ้น!

“ศิลปะแห่งความสมดุลของจักรวาล” คำพูดนี้ของผมดูจะไม่เกินเลยไปถ้าเราได้รู้จักความเป็นมาและความหมายของมันอย่างแท้จริง ผมเชื่อว่าหลายคนคงได้ทราบอยู่แล้วว่าความหมายของ “แมนดาลา” (Madala) คืออะไรมีความเป็นมาอย่างไร แต่ผมก็เชื่ออีกว่า หลายคนก็อาจจะงง เพราะแต่ละแหล่งข้อมูลนั้นได้บอกเอาไว้ถึงที่มาและความหมาย แต่อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง บทความนี้ผมเลยจะมาเล่าและสรุปให้ได้ฟังกันครับว่า มันมีที่มาที่ไปอย่างไร และมีความโดดเด่นมากมายเพียงใดในงานศิลปะ มันถึงได้ถูกขนานนามไปได้ในหลากหลายทาง หลายความหมาย

ทำความรู้จักกับ Mandala (แมนดาลา) ศิลปะแห่งความสมดุลของจักรวาล!
ทำความรู้จักกับ Mandala (แมนดาลา) ศิลปะแห่งความสมดุลของจักรวาล!

แมนดาลา (Madala) หากเราลองเปิดดูในความหมายของคำในพจนานุกรมแล้วจะรู้ว่ามันมีความหมายเป็นคำนาม คือรูป “วงกลม” ซึ่งรูปวงกลมนี้แหละครับ เมื่อมันบวกกับแหล่งที่มา หรือผนวกเข้ากับแหล่งของสถานที่ในแต่ละวัฒนธรรมของหลาย ๆ ความเชื่อเข้าไป มันเลยทำให้นิยามของมันแตกต่างกันไป

แมนดาลา มีอยู่ทั่วทุกแห่งหนครับ มีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล ก่อนกำเนิดของศาสนาซะด้วยซ้ำ มีมาตั้งแต่มนุษย์เรารู้จักกับคำว่า “ความดีความชั่ว” หรือเทพยดา ภูตผีปีศาจ เพราะฉะนั้นแมนดาลาเลยมาพร้อมกับความเชื่อ มาพร้อมกับปรัชญาของศาสนา โดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกอ้างอิงให้เกี่ยวพันอยู่กับ 2 ศาสนาเป็นหลัก นั้นคือศาสนาพุทธ และฮินดู

คำว่า แมนดาลาในความหมายของเราชาวพุทธ เป็นสันสกฤต แปลว่า “มณฑล” ที่แปลว่า ที่รองนั่ง ฐานที่รองนั่ง แก่นรวมศูนย์กลาง ซึ่งมีที่มาจากทิเบต (อันนี้ข้อมูลอ้างอิงหลาย ๆ แหล่งได้กล่าวเอาไว้) ตามความความหมายของศาสนาพุทธพร้องต้องกันด้วยความหมายว่า ที่ประทับของพระพุทธเจ้า มานดาลาจากดั่งเดิมจะถูกนำไปในการแสดงออกทางด้านสถาปัตยกรรม การสร้างวิหาร ที่จะมีการออกแบบให้มีจุดศูนย์กลางในวิหาร และมีประตูเข้าออก ทั้ง 4 ทิศ 4 ประตู ซึ่งแต่ละประตูจะมีความหมายสำคัญคือ พรหมวิหารสี่ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) 

คำว่า แมนดาลาในความหมายของชาวฮินดู จะมีความหมายที่กว้างใหญ่กว่าสื่อไปถึงสัญลักษณ์ของจักรวาล! แต่ใช้แทนเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณ ที่แสดงออกมาในลักษณะของ วงกลม เช่นเดียวกัน แต่ความหมายของวงกลมในที่นี้จะถูกแทนด้วยปรัชญาของการมีชีวิตอยู่ของทุกสรรพสิ่งในจักรวาล ซึ่งมันถูกมองว่า เป็นลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ จุดเริ่มต้นและจุดจบของมันไม่มีอยู่จริง เมื่อไม่มีอยู่จริงก็จะมองหาจุดสิ้นสุดไม่ได้!

ในหลาย ๆ ประเพณีและในหลายพิธีกรรมทางศาสนา แมนดาลา มักจะมีการใส่เรื่องของความเชื่อและมีเรื่องราวของเวทย์มนต์คาถาเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ซึ่งสาเหตุที่เป็นอย่างนี้เป็นเพราะแมนดาลาถูกนำมาใช้ในการฝึกจิตฝึกฝนให้กับพระทางทิเบตและอินเดีย พระในทิเบตมักจะวาดรูปของแมนดาลาโดยการใช้ทรายผสมกับสี และทำการโรยทรายนั้นลงบนพื้นวาดออกมา ซึ่งในการวาดนั้นจะใช้เวลานานเป็นวันหรือบางชิ้นก็ใช้เวลาเป็นเดือน ๆ ก็มี พระบางรูปเลยใช้วิธีการท่องสวดมนต์ไปด้วยขณะที่กำลังทำการฝึกสมาธิและจิตใจด้วยการวาดแมนดาลา และเมื่อวาดเสร็จ แมนดาลานั้นก็จะถูกลบออกไป และก็เริ่มสร้างขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการสอนในด้านปรัชญาอยู่ในหลายอย่าง เช่น การมีอยู่และการดับไป การวนเวียนเกิด แก่ เจ็บ และก็ตาย และก็มีการเกิดขึ้นมาใหม่ วนเวียนไปอยู่แบบนี้

แมนดาลายังถูกนำมาใช้ทางด้านจิตเวช ในการบำบัดผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต และสามารถทำให้แพทย์ที่ทำการรักษาได้รู้ถึงสภาพจิตใจของผู้ป่วยได้ในระดับหนึ่ง โดยการที่ให้ผู้ป่วยได้วาดรูปแมนดาลานั้น ๆ แมนดาลายังถูกนำไปใช้ในการ ฝึกสมาธิ และบำบัดในอีกหลาย ๆ สิ่งกับคนปกติในทุกเพศ ทุกช่วงวัย ช่วยบำบัดความเครียด ฝึกการมีสมาธิในจดจอกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ช่วยให้ผ่อนคลาย

กฎของแมนดาลา ไม่มีอะไรมากครับ มีเพียงแค่ การทำทุกอย่างที่วาดให้มีความสมดุลและเท่ากันในทุก ๆ ด้าน ทุกสัดส่วน โดยมีจุดศูนย์กลางของวงกลมเป็นหลักสำคัญ ส่วนรูปแบบในการวาดนั้นไม่มีอะไรตายตัว เราสามารถใส่จินตนาการได้อย่างเต็มที่กับรูปทรงหรือรูปวาดแต่ละอย่าง มันเลยถูกนำมาจัดรวมเอาไว้ในงานด้านศิลปะอีกแขนงหนึ่ง!

จากที่ผมกล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนั้น ฟังดูแล้วดูเหมือนมันจะไม่เกินเลยไปใช่มั้ยครับกับคำว่า “ความสมดุลแห่งจักรวาล” นั้นไม่ใช่เพราะแค่ความหมายของมันเท่านั้น แต่เป็นเพราะว่า แมนดาลา มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้งานกับศาสตร์ทางจิตวิญญาณและการเข้าถึงของวิทยาการสมัยใหม่ แทบจะทุกแขนง และเกือบทุกศาสตร์ของความเป็นมนุษย์ โดยมุ่งเน้นปรัชญาและการตีความหมายไปในด้านของความเชื่อทางศาสนา ตังแต่สมัยโบราณที่มันถูกนำมาสร้างเป็นศาสนสถานหรือใช้ในด้านสถาปัตยกรรมต่าง ๆ มากมาย จนถึงปัจจุบันที่ถูกนำเข้ามาใช้ในเทคโนโลยี ในรูปของฟันเฟืองเพียงตัวหนึ่งที่ถุกบรรจุอยู่ในกลไกของเครื่องจักร

ในวงการศิลปะ มีศิลปินมากมายที่นำศาสตร์ของแมนดาลามาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ผลงานเพื่อจรรโลงโลก และถูกใช้ในการสื่อไปถึงงานศิลปะด้านพุทธิปัญญาอย่างงกว้างขวาง โดยเน้นในปรัชญาที่แอบแฝงมาให้เราได้ตีความเช่นเดียวกัน

หลักการสร้างผลงานศิลปะด้วยแมนดาลา (Madala Art)

หลักการในการสร้างงานก็มีง่าย ๆ อย่างที่ผมบอกไว้ในขั้นต้น คือ เราสามารถใช้เทคนิคอะไรก็ได้ ใช้รูปทรงอะไรก็ได้ ใช้สีสันยังไงก็ได้ แต่ทุกอย่างจำเป็นต้องเข้ามาอยู่เป็นองค์ประกอบหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของแขนงของรูปวงกลม โดยที่มีทุกอย่างเริ่มต้นจากจุดศูนย์กลางของวงกลม และค่อย ๆ ขยายอาณาบริเวณกิ่งก้านสาขาออกไปจากจุดศูนย์กลางของวงกลม โดยจะใหญ่หรือเล็กแค่ไหนก็ได้ไม่จำกัด ตราบเท่าที่เราจะมีสมาธิอยู่กับมัน แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ ก็คือ ทุกรูปทรงจะต้องมีความสมมาตร (Symmetry) กันในทุก ๆ ด้าน ทุก ๆ สัดส่วน สมมาตรกันในทุก ๆ กิ่งก้านสาขาที่แตกแขนงออกไปจากจุดศูนย์กลางของวงกลม

จุดสรุปเพียงแค่สั้น ๆ ง่าย ๆ เพียงเท่านี้เองครับ ในวิธีการทำแต่จุดประสงค์และสิ่งที่ได้รับจากความเป็นแมดาลานั้น มันมีมากมายมหาศาล อย่างน้อยที่สุดถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ตั้งใจที่จะวาดให้มันมีความหมายหรือมีปรัชญาอะไรลึกซึ้ง แต่เมื่อเราได้ลองวาดในทุกส่วนให้มีความสมมาตรกัน เพียงเท่านั้น ก็ถือว่าได้เป็นการฝึกสมาธิอย่างมหาศาลอยู่แล้ว

ปัจจุบันเราทุกคนก็สามารถสร้างภาพแมนดาลาได้ง่าย ๆ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้หรือความสามารถอะไรก็สามารถทำได้ เพราะเนื่องด้วยปัจจุบันนี้เรามีอุปกรณ์และเทคโยโลยีหลายอย่างมาก ๆ ที่ช่วยเราวาด เช่น โปรแกรมออกแบบกราฟฟิคเกือบจะทุกโปรแกรม ก็สามารถทำได้ หรือแม้แต่ ในโทรศัพท์มือถือก็ยังมีแอพฯ ให้เราได้ดาวน์โหลดมาใช้กัน ที่สำคัญเราไม่จำเป็นต้องมานั่งวาดในทุก ๆ ลายเส้น หรือทุก ๆ แฉกเลย เพราะอาศัยความสามารถของโปรแกรมวาดแค่แขนงเดียวจากนั้นโปรแกรมก็จะก็อปปี้สร้างความสมมาตรให้เราโดยอัตโนมัติ หรือในร้านหนังสือที่มีขายอยู่มากมายเป็นสมุดภาพวาดที่พร้อมให้เราได้ระบายสีกัน เพราะฉะนั้น การจะฝึกสมาธิจากการวาดภาพแมนดาลาโดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือในแอพฯ บนมือถือ จึงไม่เป็นที่แนะนำอย่างยิ่ง มันไม่ได้ช่วยให้เราได้สมาธิแบบเต็มที่ตามความหมายทางปรัชญาของแมนดาลา หากแต่ถ้าเราต้องการฝึกสมาธิด้วยการวาดภาพแมนดาลาจริง ๆ สิ่งที่สมควรกระทำอย่างยิ่งก็คือ การใช้ปากกา หรือดินสอวาดมันลงไปในกระดาษ เป็นเรื่องที่ดีที่สุด หรือจะใช้เทคนิคใดก็ได้ที่ทำให้เราได้วาดรูป

ในบทความหน้าผมจะมาแนะวิธีการสร้างภาพ แมดาลา (Madala) จากโปรแกรม Affinity Designer กันครับ แล้วคุณจะรู้ว่า มันโคตรง่ายเลย! ถถถ 🙂

ราคาเริ่มต้น

3,500 บาท

ราคาจะสามารถแจ้งให้ทราบได้เมื่อได้รับรายละเอียดงานที่ต้องการเบื้องต้น

ลูกค้าเตรียมข้อมูลดังนี้
เพื่อประเมินราคาจัดทำ

  1. ต้องการงานสไตล์ไหน?
  2. ต้องการให้มีรูปภาพ สัญลักษณ์ในโลโก้?
  3. ข้อความที่ต้องการใส่
  4. ต้องการโทนสีอะไร?
  5. ตัวอย่างรูปแบบสไตล์งานเพื่อเป็นแนวทาง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ไลน์ไอดี phpinlove

ติดต่อ Line ID : phpinlove