ในบทความนี้ผมจะขอแนะนำวิธีการสร้างเอฟเฟกต์ของภาพที่สะท้อนเงาในน้ำแบบสมจริงด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพ Photoshop กัน
ซึ่งขั้นตอนในการทำนั้นอาจจะต้องอาศัยความรู้ในการใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ในเมนู Effect ของโปรแกรม และจำเป็นที่จะต้องมีมุมมองที่สามารถมองเห็นได้ว่าภาพนี้เวลาสร้างเอฟเฟกต์สะท้อนเงาในน้ำแล้วมันจะสามารถออกมาได้คล้ายกับความเป็นจริงมากที่สุด เรามาเริ่มกันเลย!
ขั้นตอนที่ 1 เลือกและครอปภาพ
เลือกรูปภาพและปรับขนาดตามความเหมาะสม ในบทความนี้ผมปรับขนาดตามที่เห็นในภาพประกอบครับ ซึ่งขนาดของภาพนั้นจะมีผลอยู่มากทีเดียวเวลาที่เรากำหนดค่าเอฟเฟกต์เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องทำการทดสอบค่าเอฟเฟกต์ที่ทำหลาย ๆ ครั้งเพื่อความสมจริง เพื่อสเกลที่ได้จะได้มีความสมจริงด้วยเช่นกัน
เมื่อได้ภาพที่ต้องการแล้วก็ให้ทำการครอปภาพส่วนด้านล่างของภาพเพื่อที่เราจะได้ทำการก็อปปี้ภาพและกลับมุมในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 เพิ่มพื้นที่ Canvas
ก็อปปี้เลเยอร์ขึ้นมาใหม่ แล้วตั้งชื่อว่า “Reflection” ในเลเยอร์นี้แหละครับที่เราจะนำเอามาเป็นพื้นผิวน้ำที่เป็นส่วนของเงาสะท้อน จากนั้น เพิ่มขนาดของ Canvas กด Ctrl+Alt+c เพิ่มพื้นที่เฉพาะด้านความมสูง จากบนลงล่าง ให้มีขนาดเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
ขั้นตอนที่ 3 กลับหัวภาพที่จะนำมาเป็นพื้นเงาสะท้อน
คลิกเลือกทำงานที่เลเยอร์ Reflection แล้วไปที่เมนู Edit >> Transform >> Flip Vertical เพื่อกลับหัวของภาพในเลเยอร์ จากนั้นก็ทำการลากและจัดวางภาพให้ส่วนนของฐานภาพมาชนต่อกัน ซึ่งจะสามารถชนต่อกันได้พอดีในแคนวาสที่เรากำหนดไว้เป็นสองเท่าของภาพเดิมจากขั้นตอนที่แล้ว
ขั้นตอนที่ 4 สร้างไฟล์พื้นผิว
พักไฟล์ต้นฉบับจากขั้นตอนที่ 1-3 ไว้ก่อน แล้วสร้างไฟล์ขึ้นมาใหม่ กด Ctrl+n ตั้งค่าตามภาพประกอบ โดยให้มีขนาดใหญ่กว่าไฟล์ภาพที่เราจะสร้างประมาณ 2 เท่า ค่า Resolution ก็ตั้งตามขนาดอ้างอิงของไฟล์ต้นฉบับ เราจะใช้ไฟล์นี้เพื่อสร้างพื้นผิว
ขั้นตอนที่ 5 สร้างพื้นผิว ใส่นอยส์
ในไฟล์งานใหม่ จากขั้นตอนที่ 4 ให้เลือกสร้างพื้นผิวโดย Filter >> Noise >> Add Noise ตั้งค่าตามภาพประกอบ
ขั้นตอนที่ 6 สร้างพื้นผิว ปรับเบลอ
ใส่ฟิวเตอร์ Filter >> Blur >> Gaussian Blur ตั้งค่า Radius ประมาณ 5-6 พอ
ขั้นตอนที่ 7 สร้างพื้นผิว ปรับ Curves
ปรับความต่างของเม็ดสี ด้วย Curves โดยไปที่เมนู Image >> Adjustments >> Curves ให้ปรับค่าตามภาพประกอบด้านล่าง
ขั้นตอนที่ 8 สร้างพื้นผิว เพิ่มฟิลเตอร์เอฟเฟกต์
ใส่เอฟเฟกต์จาก Filter Gallery โดยไปที่ Filter > Filter Gallery และเลือกฟิลเตอร์จาก Sketch folder เลือกใช้ Bas Relief ปรับค่าตามตัวอย่างภาพด้านล่าง
ขั้นตอนที่ 9 สร้างพื้นผิว เพิ่ม Motion Blur
ขั้นตอนนี้เราจะเพิ่มความเคลื่อนไหวให้กับพื้นผิวที่เราสร้าง โดยไปที่ Filter >> Blur >> Motion Blur เลือกปรับค่าต่าง ๆ ตามภาพ องศาเป็น 0 ปรับ Distance เป็นประมาณ 35 px
ขั้นตอนที่ 10 ผสานภาพต้นฉบับกับไฟล์พื้นผิว
เมื่อเราสร้างพื้นผิวจากไฟล์ใหม่เสร็จแล้วในขั้นตอนที่ 9 จากนั้นให้เราทำการลากไฟล์ภาพพื้นผิวที่เราเพิ่งสร้างเสร็จ เอามาโยนใส่ในไฟล์ต้นฉบับภาพของเราครับ ง่าย ๆ แค่คลิกเลือกแล้วลากมาที่หน้าต่างของอีกไฟล์ได้เลย เมื่อโยนมาใส่แล้วก็ตั้งชื่อมันว่า “Texture”
ขั้นตอนที่ 11 ปรับขนาดของเลเยอร์ texture
คลิกเลือกทำงานเลเยอร์ Texture กด Ctrl+t เพื่อปรับขนาด หรือคลิกเมาส์ขวาก็ได้ แล้วเลือก Transform เลือก Perspective จากนั้นก็ทำการปรับ ย้ายภาพมาให้เป็นมุมมองของ Perspective โดยส่วนบนปรับให้แคบพอดีกับกรอบของ Canvas และลดระดับให้พอดีกับเส้นเชื่อมต่อของกึ่งกลางภาพ โดยอ้างอิงจากเลเยอร์ Reflection
ส่วนด้านล่างให้ ทำการถ่างขยายออกมาให้กว้างกว่า Canvas 3-4 เท่า อ้างอิงทำตามภาพประกอบ ซึ่งผลที่ได้จะเป็นตามภาพด้านล่างนี้ เสร็จแล้วก็กดปุ่ม Enter เพื่อยืนยันเสร็จสิ้น
ขั้นตอนที่ 12 ครอปภาพ
กด c เพื่อครอปภาพให้มีขนาดตาม Canvas ปกติ
ขั้นตอนที่ 13 ก็อปปี้เลเยอร์ Texture
คลิกเลือกทำงานที่เลเยอร์ Texture แล้วกด Ctrl+j เพื่อ Duplicate เลเยอร์ (ก็อปปี้เลเยอร์นั้นแหละ) จากนั้นในช่อง Destination ก็คลิกตั้งชื่อเลเยอร์เป็น “Ripple Texture” และเลือก Document เป็น New หลังจากนั้นก็กด OK
ขั้นตอนที่ 14 จัดการกับไฟล์ Ripple Texture
จากขั้นตอนที่ 13 เราจะได้ไฟล์ใหม่ขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งไฟล์คือ “Ripple Texture” คราวนี้ก็เปิดมันขึ้นมา และก็ ทำการตัดโดยไปที่เมนู Image >> Trim เลือก Transparent Pixels
ขั้นตอนที่ 15 เซฟไฟล์ Ripple Texture
เรายังอยู่ในไฟล์ Ripple Texture นะครับ เมื่อทำตามขั้นตอนที่ 14 เสร็จแล้วก็ให้เราเลือก Save เป็นไฟล์ ตามไดเรกทอรี่ที่เราต้องการ แต่ต้องจำให้ได้นะครับว่าเราเซฟไว้ที่ไหน เพราะเราจะต้องทำการเรียกใช้งานมันในขั้นตอนต่อไป สำหรับในบทความนี้ผมก็เซฟไว้ที่หน้าจอเลย
ขั้นตอนที่ 16 จัดการกับเลเยอร์ Reflection
กลับมาทำงานที่ไฟล์ต้นฉบับครับ ง่าย ๆ ปิดตา Texture Layer
คลิกเมาส์ขวาที่เลเยอร์ Reflection จากนั้นเลือกเปลี่ยนคุณสมบัติเลเยอร์เป็น Convert to Smart Object
ยังทำงานอยู่ที่เลเยอร์ Reflection อยู่นะครับ! ไปที่เมนู Filter >> Filter Gallery. เลือก Glass filter ซึ่งอยู่ในโฟลเดอร์ Distort ปรับเต่งตามภาพครับ
ในช่องเมนูของ Texture จะมีปุ่มด้านข้างเล็ก ๆ ให้เราคลิกเพื่อทำการ Load Texture เมื่อคลิกที่ปุ่มนี้แล้ว โปรแกรมจะให้เราเลือกไฟล์ของพื้นผิวที่เราสร้างไว้ ซึ่งในที่นี้เราได้ทำไว้แล้วในขั้นตอนก่อนหน้า ก็ให้เราเลือกไฟล์ ที่ชื่อว่า Ripple Texture ที่เราเซฟเอาไว้เมื่อขั้นตอนที่ผ่านมา เราจะได้พื้นผิวที่มีลักษณะบิดงอเหมือนผิวน้ำ
ขั้นตอนที่ 17 ปรับ Soft Light ใน Texture Layer
เปิดตาเลเยอร์ Texture ปรับ blending mode เป็น Soft Light ปรับค่าความโปร่งใส Opacity เป็น 18%
ขั้นตอนที่ 18 สร้างเลเยอร์ใส่สีบรรยากาศ
สร้างเลเยอร์ขึ้นใหม่อีก 1 เลเยอร์ ตั้งชื่อว่า “Color” ใส่สี โดยให้เน้นอ้างอิงสีจากบรรยากาศของสภาพท้องฟ้า อากาศ บรรยากาศ ของภาพถ่ายของเรา ผมใช้สีฟ้า เมื่อใส่สีในเลเยอร์เสร็จแล้ว ให้ลากเลเยอร์ Color ลงมาไว้ให้อยู่ด้านล่าง เลเยอร์ Texture และอยู่ด้านบนเลเยอร์ Reflection จะได้ตามภาพประกอบ
ขั้นตอนที่ 19 Clipping Mask Layer
คลิกเลือกทำงานเลเยอร์ Color จากนั้นกดปุ่ม Alt ค้างไว้ พร้อมกับคลิกเมาส์ซ้าย ตรงเส้นขั้นระหว่าง เลเยอร์ Color กับเลเยอร์ Reflection สังเกตุตัวลูกศรเมาส์จะเปลี่ยนเป็นลักษณะชี้ลง เสร็จแล้วให้คลิกเพื่อทำการสร้าง Clipping Mask Layer ทั้งสองเลเยอร์เข้าด้วยกัน
กดปุ่ม d เพื่อเซ็ตค่าสี คลิกเลือกทำงานที่เลเยอร์ Color คลิกเลือกที่ Layer >> Layer Mask >> Reveal All
ใช้เครื่องมื่อ Gradient Tool หรือกด g แล้วลากการไล่สีเพื่อลบครึ่งบนของเลเยอร์ Color ให้มีแค่ส่วนของสีฟ้า เหลือเท่าพอดีกับเลเยอร์ Reflection เท่านั้น
ปรับค่าความโปร่งใส Opacity ของเลเยอร์ Color เหลือเพียง 25%
ขั้นตอนที่ 20 ปรับแสง สี ด้วย Curves
ใกล้เสร็จแล้วครับ! ต่อไปเรามาปรับสีสัน ให้พอเหมาะตามต้องการกัน ผมใช้งาน Layer >> New Adjustment Layer >> Curves ปรับตามภาพครับ ซึ่งอันที่จริงมันไม่กฎตายตัว เรียกว่าเอาตามที่เราชอบแล้วกัน
ขั้นตอนที่ 21 ปรับ Black & White
ผมเลือกใช้งาน Layer >> New Adjustment Layer >> Black & White เพื่อปรับค่าความเข้มของความขาวและดำในภาพ ปรับ Blending mode เป็น Soft Light และปรับค่าความโปร่งใส opacity เหลือเพียง 40%
ขั้นตอนที่ 22 ปรับ Vignette effect
ปิดท้ายด้วย Vignette effect คือปรับขอบมุมของภาพให้ดูน่าสนใจขึ้นตามนี้ สร้างเลเยอร์ใหม่ ไว้บนสุด ใส่สีขาว ตั้งชื่อว่า “Vignette effect”
ใช้งาน Filter >> Lens Correction ลองปรับค่าตามใจชอบดูครับ หรือใช้การตั้งค่าส่วนต่าง ๆ จากภาพประกอบด้านล่างก็ได้