การออกแบบเว็บไซต์ก็คล้าย ๆ กับงานออกแบบอื่น ๆ แทบจะไม่มีอะไรผิดเพี้ยนไม่ว่าจะเรื่องของความเข้ากันของเนื้อหาเว็บไซต์กับรูปแบบของเว็บ การเลือกใช้สี หรือแม้แต่การเลือกใช้ฟอนต์ อาจจะต่างกันก็ตรงที่ ข้อจำกัดเฉพาะตัวบางอย่างของรูปแบบงานเท่านั้นเอง
วันนี้ผมมีเทคนิคง่าย ๆ 3 ข้อเกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์สำหรับของกิน ให้ดูแล้วปัง! เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบครับ
3 เทคนิคเล็ก ๆ ที่ช่วยให้เว็บไซต์อาหารดูโดดเด่น
- รูปภาพที่ชวนให้น้ำลายใหล!
แน่นอนครับว่ารูปภาพย่อมแทนคำพูดได้ดีที่สุด สีสันของภาพถ่ายที่น่ากิน เห็นแล้วรู้สึกหิวทันทีมันมีชัยไปกว่าครึ่ง เรื่องของรูปภาพนี้นักออกแบบอาจจะต้องพึ่งพาช่างภาพซะหน่อย เพราะช่างภาพมืออาชีพย่อมรู้ดีว่า ภาพอาหารควรจะถ่ายออกมาแล้วเป็นอย่างไรให้ดูมีเสน่ห์ น่ากิน เห็นครั้งแรกชวนให้น้ำลายใหลกันไปเลย ยิ่งทำให้เกิดความอยากของรูปภาพมากเท่าไหร่ ตัวเว็บไซต์ ที่มีภาพเหล่านี้ประกอบอยู่ก็จะได้รับความสนใจมากเท่านั้นครับ พยายามเน้นภาพถ่ายน่ากินเยอะ ๆ ผลลัพท์จะออกมาดีเอง แต่ก็คงไม่ได้เน้นมากซะจนมองหาเนื้อหาหรือรายละเอียกอื่น ๆ ไม่เจอนะ - สีสันที่ชวนให้กระตุ้นน้ำย่อย!
เรื่องของการเลือกใช้สีที่เหมาะสมกับการออกแบบเว็บไซต์สำหรับขายอาหารนั้นคงต้องดูกันที่จิตวิทยาของสีที่จะเลือกใช้ครับ ในทางทฤษฎีสี สีสรรกับความรู้สึกย่อมถูกใช้ให้พอเหมาะและตรงประเด็น เราจะเห็นได้ว่า ร้านกาแฟ ทำไมต้องสีน้ำตาล? หรือในบางกรณีทำไมร้านขายของกินหลาย ๆ เจ้าต้องนิยมใช้สีส้ม? อันที่จริงทุกอย่างจะมีความรู้สึกที่เกี่ยวเนื่องกับสีทั้งสิ้น หน้าที่ของนักออกแบบก็คือ การเลือกใช้ชุดสีที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์นั้น ๆ และที่สำคัญ จะต้องทำการออกแบบให้สีที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกเหล่านั้นเกิดสัมพันธ์ควบคู่ไปกับสีประจำร้านสีของโลโก้ ให้ได้ด้วย เพื่อไม่ทิ้ง Concept ของร้านไป - ใช้ตัวอักษรฟอนต์ที่เรียบง่ายไม่รกรุงรัง
เรื่องของการเลือกใช้งานตัวอักษรหรือฟอนต์นั้นถือว่าเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ต้องเน้นและให้ความสำคัญไม่ต่างจากสองข้อที่กล่าวมา เพราะด้วยเทคนิคและวิธีการที่ต้องเสนอให้ผู้ชมรู้สึกมีความอยากที่จะกินอาหารเหล่านั้น นักออกแบบจะต้องไม่เน้นข้อความที่รกรุงรัง รูปแบบของฟอนต์ที่อ่านยาก ยิ่งถ้าต้องการทำในส่วนของ Title ด้วยแล้วคงต้องทำให้ดูเน้นกระชับ ไม่ยืดยาวเกินไป อีกทั้งรูปแบบของ Contrast ที่ต้องมีระหว่างรูปภาพพื้นหลังกับตัวอักษรข้อความ ไม่ต้องเน้นแสงเงา หรือทำ Gradient ให้ยุ่งยาก แต่ให้พยายามเน้นความชัดเจนที่มีผลต่อการมองเห็นเริ่มต้นก็พอ
ทั้ง 3 เทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เราสามารถออกแบบเว็บไซต์สำหรับอาหารให้เกิดความโดดเด่น ถ้าเราใส่ใจรับรองได้ครับว่าเว็บไซต์อาหารนั้นจะต้องเป็นที่ดึงดูดสดุดตาต่อผู้พบเห็นแน่นอน ที่สำคัญเทคนิคนี้ไม่จำเป็นจะต้องเอาไว้สำหรับออกแบบเว็บไซต์เท่านั้นนะ เพราะมันสามารถใช้ได้กับการออกแบบสื่อทุกชนิดที่เกี่ยวกับอาหารได้เป็นอย่างดี มันคือ 3 ข้อที่เป็นหัวใจสำคัญสำหรับงานออกแบบ
4 เว็บไซต์อาหารตัวอย่างที่ดูแล้วลงตัวน่าสนใจ
ลักษณะของการออกแบบเว็บ grannyssecret ถือว่าเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการใช้งานรูปภาพควบคู่กับการใช้ฟอนต์ตัวอักษรที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน และยังสามารถผสานความคลาสสิคของเนื้อหาให้ตรงกับผลิตภัณฑ์ได้อย่างลงตัว ถือว่าเป็นเว็บไซต์อาหารที่ใช้ประโยชน์จากรูปภาพได้ดีทีเดียว
เว็บนี้เน้นสีสันครับ สีสันที่หวาน พาสเทลที่ดูมีสไตล์เข้ากับผลิตภัณฑ์ รูปแบบง่าย ๆ ของตัวเว็บทำให้น่ามองและอยากจะเข้าไปดูเนื้อหาด้านในมาก ๆ สีที่ชวนดูแล้วอยากกิน กราฟฟิคที่ชวนดูแล้ว รู้สึกถึงผลิตภัณฑ์ที่ขาย
เว็บ steepandjar เป็นอีกหนึ่งเว็บที่นำเสนอรูปภาพเป็นจุดเด่นชูโรงและใช้ฟอนต์ที่อ่านง่าย ข้อความสั้น ๆ กระชับ บวกกับสีสัน แต่สามารถเลือกใช้สีที่นอกเหนือจากสีที่ให้ความรู้สึกว่าดูน่ากินได้ดี เพราะเป็นอีกหนึ่งเว็บที่สามารถสร้างสีสันจากธีมพื้นฐานให้เกิดความรู้สึกน่าสนใจได้
ตรงตามเทคนิค 3 ข้อที่กล่าวมาครับ รูปภาพ สีสัน และแบบอักษร เป็นเว็บที่เรียบง่าย ดูทันสมัย เน้นคลีน ความสะอาดตาเป็นสำคัญ