Analyze Digital Photographic Retouching มาหัดวิเคราะห์ภาพ เพื่อการรีทัชกันเถอะ

สิ่งที่นักรีทัชที่ดีจำเป็นจะต้องมีเป็นอันดับต้น ๆ ก็คือ การรู้จักวิเคราะห์ภาพถ่าย และรู้จักขั้นตอนการวางแผนเพื่อการรีทัช เพราะทั้งหมดจะเป็นรากฐานสำคัญให้กับนักรีทัชที่ต้องทำงานกับผลงานซักชิ้นหนึ่งให้ได้ออกมาสมบูรณ์แบบอย่างที่ใจต้องการ

การรีทัชภาพที่ดีนั้นอาจจะต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน โดยทั่วไปกว่าที่เราจะมาถึงขั้นนี้ได้จะต้องได้รับการฝึกฝนถึงขั้นชำนาญการเลยทีเดียว แน่นอนว่าเรื่องของการใช้งานโปรแกรมเพื่อการรีทัชไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมอะไรก็ตามที่นักรีทัชผู้นั้นใช้งานจะต้องมีความสามารถในโปรแกรมนั้น ๆ อยู่แล้ว ซึ่งหากเป็นเพียงแค่ขั้นเริ่มต้น การรีทัชอาจจะทำได้อย่างค่อนข้างลำบาก ยิ่งถ้าไม่ชำนาญในการใช้โปรแกรมมาก ๆ เทคนิคในการรีทัชเทคนิคในการใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ของโปรแกรม จะถูกใช้เป็นข้ออ้างเพื่อจำกัดขอบเขตของจิตนาการนั้นทันที อาจจะเรียกได้ว่า จิตนาการถึงแต่ฝีมือการใช้งานที่จะทำให้มันเกิดขึ้นไม่ถึงก็ได้

ในบทความนี้ผมจะขอกล่าวถึงอีกบริบทที่สำคัญของการรีทัชที่นอกเหนือไปจากความชำนาญสร้างสรรค์ของโปรแกรมที่ใช้อีกอย่างหนึ่งที่นักรีทัชทุกคนจะต้องเรียนรู้ก่อนลงมือทำนั้นก็คือ การวิเคาะห์ชิ้นงาน (Analyze Digital Photographic Retouching) เพื่อนำไปสู่การรีทัชในภาคปฎิบัติ โดยในทีนี้ผมจะหยิบยกเอาภาพถ่ายง่าย ๆ ที่จะมาทำการวิเคราะห์กัน เพื่อจะได้เข้าใจง่ายขึ้นยังไม่ถึงขั้นซับซ้อนอะไรมาก

เราต้องรู้และเตรียมพร้อมอะไรบ้างก่อนการรีทัชภาพ ?

  1. วิธีการใช้งานโปรแกรมที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมอะไรก็ตามผู้ใช้จะต้องชำนาญในระดับหนึ่ง เพราะมันจะต้องถูกใช้เพื่อตอบโจทย์ทุกจินตนาการที่ต้องการ
  2. มองเรื่องของทัศนธาตุให้แตกฉาน ผมคงไม่ต้องอธิบายว่าทัศนธาตุในภาพภาพหนึ่งนั้นมันมีอะไรบ้าง แต่กระบวนการนี้นัยหนึ่งจะต้องสร้างสรรค์สำเร็จมาแล้วจากผู้ถ่ายภาพนั้นเอง หากแต่นักรีทัชเพียงแค่ขับเน้นให้มันเด่นชัดขึ้นมาให้มากกว่าเดิมเท่านั้น
  3. ทฤษฎีสี แสง เงา หนึ่งในทัศนธาตุที่สำคัญ ความรอบรู้เรื่องของสีสันที่เกี่ยวข้องกับภาพถ่ายนั้น ๆ การเน้นให้ถูกจังหวะอารมณ์ของเรื่องราวที่ภาพ ๆ นั้นต้องการสื่อ แน่นอนว่าในเรื่องนี้จะต้องได้รับการคัดเลือกจากภาพถ่ายที่ผู้ถ่ายได้จัดสีสันแสงเงาเอาไว้มาก่อนแล้ว เพียงแต่เรานักรีทัชจะเป็นคนที่ช่วยขับมันออกมาให้ได้อารมณ์มากขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น
  4. รู้จักตรวจมองส่องหาสิ่งที่ผิดพลาด จุดตำหนิ ริ้วรอยต่าง ๆ สิ่งที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นในภาพ สิ่งที่ดูแล้วมันจะบั่นทอนความสวยงามหรือความหมายเรื่องราวในภาพนั้นให้ด้อยลง
  5. ต่อเติมสร้างใหม่ เราสามารถเสริมเพิ่มเติมแต่งภาพถ่ายนั้น ๆ ได้หากต้องการ ทั้งนี้เพื่อความสมบูรณ์แบบมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มแสง สี เงา หรือแม้กระทั้งวัตถุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาพ เมื่อพิจาณาแล้วว่าถ้ามันมี จะทำให้ภาพนั้นดูดีสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น ็อย่าลังเลที่จะเพิ่มมันเข้าไป
  6. ต้องรู้คอนเซ็ปของงาน รู้ว่าภาพ ๆ นั้นจะนำไปใช้งานในด้านใด รูปแบบไหน สื่อประเภทใด เพื่อที่นักรีทัชจะได้บังคับทิศทางของโทนภาพนั้น ๆ ให้มีความรู้สึกในบรรยากาศของการใช้งานนั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง ตรงตามจุดประสงค์เป้าหมายหลักของมัน

ก่อนเริ่มงานรีทัชหรือการนำภาพนั้นมาใช้งานจะต้องจัดการอย่างไร ?

คำถามนี้มีคำตอบอยู่ง่าย ๆ ครับ นั้นคือการวางแผน ซึ่งภาพทุกภาพ จะต้องถูกถ่ายโดยช่างภาพ นักรีทัช จำเป็นที่จะต้องพูดคุยกับช่างภาพให้เข้าใจกันซะก่อน ว่าความต้องการของชิ้นงานนั้นจะให้มีรูปร่างหน้าตาออกมาเป็นเช่นไร การจัดมุมมอง จัดแสง จัดเงา องค์ประกอบของภาพนั้น ๆ หรือแม้กระทั้งเรื่องของสีสันที่ได้รับจากตัวแบบและถ่ายทอดออกมาโดยกล้องถ่ายภาพ แทบจะทุกขั้นตอนก็ว่าได้ ที่นักรีทัชจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมและสังเกตุการทำงานหรือช่วยกันสร้างภาพนั้น ๆ รวมถึงการวางแผนขั้นตอนต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน อันนี้คือสิ่งที่ละเลยไม่ได้

ต้องระลึกอยู่เสมอว่า ภาพทุกใบที่เรารีทัช จะตกถึงมือเราเป็นคนสุดท้ายที่จะต้องเข้าไปสัมผัสและแก้ไขมัน ถ้าการถ่ายภาพออกมาห่วย ถึงจะเป็นเทพเจ้าแห่งการรีทัช ยังไงภาพ ๆ นั้นก็คงออกมาดูดีไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องทำการถ่ายทำกันใหม่ แต่ถ้าเมื่อใดที่การถ่ายทำภาพนั้นเสร็จสมบูรณ์ จงจำไว้ว่าภาระต่อไปจะตกอยู่ที่เราคนเดียวเท่านั้นเพราะเราคือคนสุดท้ายที่ไม่ท้ายสุดที่จะต้องเผชิญกับปัญหาร้อยแปดพันเก้าของงานชิ้นนั้น เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ ที่เราจะต้องมีส่วนร่วมเข้าไปสังเกตุการณ์และวางแผนในขั้นตอนการถ่ายทำของช่างภาพเช่นกัน

เมื่อทุกอย่างพร้อมการรีทัชจึงจะเกิดขึ้น!

มานั่งวิเคราะห์ภาพก่อนการรีทัชกันเถอะ (จากภาพตัวอย่าง)

เมื่อได้ภาพที่ต้องการมาแล้ว แน่นอนว่าภาพนั้นอาจจะไม่สมบูรณ์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์แต่อย่างน้อย ๆ มันก็ต้องให้ได้ความสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่ทำได้ในขั้นตอนของการถ่ายภาพ เมื่อได้ดังนี้ เรามาลองวิเคราะห์กันเลยครับว่า ภาพตัวอย่างด้านล่างนี้ น่าจะรีทัชมันตรงไหนกันดี ?

Digital Photographic Retouching

ในภาพนี้ผมวิเคราะห์ได้ ดังนี้

  1. เรื่องของ แสง เงา ที่ยังดูมืดเกินไป ด้วยเงาที่ตกกระทบจากทิศทางของแสงเหมือนจะแข็งกระด้างไปซักนิดหน่อย
  2. สิ่งที่ขาวยังไม่ขาวและสิ่งที่ดำยังไม่ดำสนิท
  3. ความสดใสของตัววัตถุ (ในที่นี้คืออาหารในจาน) ซึ่งมันถูกแสงที่สว่างจัดเกนไป (ไฮไลท์) กลบความโดดเด่น เนื้อที่ดำมากไปนิดหนึ่ง จนดูไม่น่ากิน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูคอนเซ็ปเป็นสำคัญอย่างอาหารจากนี้ เป้าหมายของการทำเนื้อคือต้องการให้มันมีรอยเข้ม ๆ ของความไหม้นิด ๆ ตามรูปแบบงาน
  4. ผิวที่ไม่เรียบเนียนของมือทั้งสอง โดยเฉพาะมือด้านซ้ายที่มีรอยตรงแขน
  5. เศษของความไม่เป็นระเบียบในจานอาหาร คราบน้ำมัน ผักที่ใช้โรยกระจายไปทั่ว
  6. ไฮไลท์ ส่วนที่สว่างที่สุด มีเยอะจนเกินพอดี ทั้งบนตัวจานและช้อนวัตถุเคียงต่าง ๆ
  7. ส่วนเกินที่เกินเข้ามาในภาพตรงมุมด้านขวาล่าง ซึ่งเป็นปลายของซ้อมที่เกินเข้ามานิดหน่อย

เมื่อพิจารณาได้ดังนี้แล้ว มาดูกันอีกภาพครับ กับที่ผมมาร์กจุดเอาไว้ แสดงถึงส่วนที่มีกากบาทสีแดง ซึ่งส่วนพวกนี้แหละครับ คือสิ่งที่เราจะต้องทำการรีทัชกัน

Digital Photographic Retouching วิเคราะห์การรีทัชภาพถ่าย

แนวทางในการรีทัช (จากภาพตัวอย่าง)

  1. ภาพนี้คือภาพอาหาร ซึ่งจะต้องเน้นให้ตัวแบบ (อาหาร) ดูหน้ากิน ที่สำคัญต้องให้ตรงตามคอนเซ็ปสีที่ใกลเคียงกับสีจริงของตัวอาหาร
  2. ภาพนี้มีส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับประธานหลักของภาพนั้นคือ อุปกรณ์ต่าง ๆ หรือแม้แต่มือ ที่ถูกนำมาเสริมเพื่อให้ภาพมีเรื่องราวสื่อถึงความหมายของการเสิร์ฟอาหาร และอุปกรณ์อื่นที่เพิ่มลงไปในภาพ
  3. สีสัน ที่จะต้องให้ถูกโฉลกกับค่าคลาสสิคของสีดำและขาวที่ถูกนำมาเป็นพื้นหลัง ในภาพถูกจัดวางด้วยสีแดง ส้ม ของตัวอาหาร ซึ่งให้ความเด่นของประธานในภาพนั้นอยู่แล้ว อันนั้นนักรีทัชมีหน้าที่จะต้องขับและดึงความเด่นนั้นออกมาให้มากที่สุด
  4. แสง เงา ที่ยังดูหม่น ๆ ในทางจิตวิทยาในการมองเห็น มันจะทำให้ภาพดูไม่สดใส หม่น ๆ ดูคล้ายไม่สะอาด

การเลือกใช้งานโปรแกรมสำหรับงานรีทัช

เมื่อเราวิเคราะห์ได้แบบนี้แล้ว ในขั้นตอนต่อไปก็คือการวิเคระห์เพื่อที่จะเลือกใช้งานโปรแกรมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการรีทัช ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้มีอยู่หลากหลาย การวิเคราะห์ตรงจุดนี้จะต้องอาศัยพื้นฐานของตัวนักรีทัชเองเป็นสำคัญ ว่าจะเลือกใช้โปรแกรมใด ตัวผู้รีทัชถนัดและมีความเชี่ยวชาญในโปรแกรมใดมากที่สุด โปรแกรมแต่ละประเภทแต่ละยี่ห้อก็อาจจะแตกต่างกันไป บางท่านอาจจะใช้งาน Gimp หรือโปรแกรม Corel PhotoPiant หรือในตะกูลของ Sarif PhotoPlus หรือแม้กระทั้งตระกูล Adobe กับ Photoshop ที่ได้รับความนิยม ทั้งหมดนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้รีทัชเองว่าชำนาญโปรแกรมไหน

จงจำไว้เสมอว่า การเลือกใช้งานโปรแกรมที่ถูกต้องกับงาน สามารถช่วยให้งานบรรลุและเสร็จสิ้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

จงแบ่งขั้นตอนการรีทัช

การวางแผนในการรีทัชยังไม่จบครับ หลังจากที่เราวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดในภาพ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่จะสร้างภาพให้สมบูรณ์แบบ และเลือกโปรแกรมที่จะใช้งานแล้ว ขั้นตอนการวางแผนของการทำงาน ก็ถือว่าสำคัญไม่แพ้กัน สำหรับภาพตัวอย่างที่แนะนำนี้ (ภาพอาหาร) ผมสามารถวิเคราะห์ขั้นตอนได้ โดยอ้างอิงจากการวิเคราะห์ปัญหาจากหัวข้อที่ผ่านมา และจะกระทำปฎิบัติในโปรแกรมที่ผมเลยใช้เป็นขั้นเป็นตอนไปจนจบ โดยในแต่ละขั้นตอนนั้นผมก็จะพยายามนึกภาพตามในหัวไปด้วยว่า ในแต่ละขั้นตอนที่กล่าวจะต้องใช้เครื่องมือที่ชื่อว่าอะไร และจต้องปรับค่าอะไรยังไงบ้างในโปรแกรมในเครื่องมือนั้น ดังนี้

  1. รีทัชลบรอยที่ไม่ต้องการออก (ใช้เครื่องมือในกลุ่มของ Retouch Tools และ Brush)
  2. รีทัชเพิ่มเติมสิ่งที่ขาดหายไปจากขั้นตอนที่ 1  (ใช้เครื่องมือในกลุ่มของ Retouch Tools และ Brush)
  3. รีทัชแสง ลดไฮไลท์ ลดแสงที่สว่างจัดที่ไม่จำเป็นเป็นในจุด ๆ  (ใช้เครื่องมือในกลุ่มของ Retouch Tools กลุ่มเครื่องมือ Adjustments)
  4. ลดเงามืดที่ทำให้ภาพดูหม่น (ใช้เครื่องมือในกลุ่มของ Retouch Tools กลุ่มเครื่องมือ Adjustments)
  5. จัดการโทนภาพของอาหารให้มีสีสันที่สดสวย (กลุ่มเครื่องมือของ Adjustments color)
  6. ลดความสำคัญของ มือ และอุปกรณ์ข้างเคียงลงเล็กน้อยเพื่อไม่ให้แข่งกับจุดเด่นและไม่ให้เลือนขาดไปจนภาพขาดเรื่องราว (กลุ่มเครื่องมือของ Adjustments color)
  7. ปรับโทน แสง สี และความเข้ม ความตัดกันของวัตถุ ให้เด่นชัดขึ้น (กลุ่มเครื่องมือของ Adjustments color และ Filter)
  8. จัดการครอปภาพตัดส่วนใหม่ (กลุ่มเครื่องมือ Crop ตัดภาพต่าง ๆ)

จากการวิเคราะห์และการปฎิบัติผมได้ผลลัพท์ออกมาเป็นแบบภาพด้านล่างครับ ซึ่งทุกอย่างตรงตามความต้องการ ที่ผมได้วางแผนเอาไว้และจัดการมันด้วยเครื่องมือโปรแกรมที่ผมถนัด

Digital Photographic Retouching วิเคราะห์การรีทัชภาพถ่าย

ลองเปรียบเทียบผลงานของการรีทัชได้จากภาพด้านล่างนี้

[sciba leftsrc=”http://makamstories.com/wp-content/uploads/2016/10/DSC_8010-resize-crop.jpg” leftlabel=”Before” rightsrc=”http://makamstories.com/wp-content/uploads/2016/10/DSC_8010-retouch-color-resize.jpg” rightlabel=”After” mode=”horizontal” width=””]

สรุป

ในการรีทัชทุกครั้งนั้น เราจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบ ปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ซึ่งในบทความนี้ ผมจะไม่ใช้ภาษาที่เป็นเทคนิคอะไรมากมาย มันอาจจะไม่เป็นทางการ แต่ทั้งนี้เพื่อความเข้าใจที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้เริ่มต้น การวิเคราะห์เพื่อการรีทัชนั้น ทั้งหมดทุกกระบวนการที่เขียนมานั้น มันจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่อึดใจ ในขั้นตอนปฎิบัติ ซึ่งเมื่อเราทำจนเคยชิน มันก็จะเกิดความชำนาญครับ และเมื่อทำบ่อย ๆ เราจะสามารถรู้และรับทราบได้เองโดยอัตโนมัติทันทีว่าภาพ ๆ หนึ่งที่อยู่ตรงหน้า มันมีข้อบกพร่อง หรือมีสิ่งใดบ้างที่ต้องการแก้ไข และนี้คือหัวใจสำคัญทั้งหมดของการวิเคราะห์ภาพเพื่อการรีทัช

ราคาเริ่มต้น

1,500 บาท

ราคาจะสามารถแจ้งให้ทราบได้เมื่อได้รับรายละเอียดงานที่ต้องการเบื้องต้น

ลูกค้าเตรียมข้อมูลดังนี้
เพื่อประเมินราคาจัดทำ

  1. ต้องการงานสไตล์ไหน?
  2. ต้องการให้มีรูปภาพ สัญลักษณ์ในโลโก้?
  3. ข้อความที่ต้องการใส่
  4. ต้องการโทนสีอะไร?
  5. ตัวอย่างรูปแบบสไตล์งานเพื่อเป็นแนวทาง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

ไลน์ไอดี phpinlove

ติดต่อ Line ID : phpinlove